May 23, 2021

Loyalty Program สร้างยอดขายจากการซื้อซ้ำ(พร้อม 10 ตัวอย่าง)

Chanin Nirapai
Digital Marketer
เลือกอ่านตามหัวข้อย่อย

รู้จักกับ The Spidery ทีมการตลาดออนไลน์

เรามุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ วัดผลได้
เราวัดผลกิจกรรมทางการตลาดที่นำมาซึ่งยอดขายและผลตอบแทนจากการลงทุน
ดูแลครบจบทุกองค์ประกอบการตลาด
ประหยัดเวลาของคุณได้มากขึ้น เราดูแลทั้งกระบวนการการตลาด นำเสนอแผนที่เหมาะสมกับธุรกิจคุณมากที่สุด
ราคาเท่ากับจ้างพนักงาน
แต่คุณจะได้ทีมงานคุณภาพมากประสบการณ์ไปทั้งทีม และไม่ต้องห่วงเราทำงานเพื่อผลลัพธ์เหมือนพนักงานในบริษัทคุณ
แชร์

หากคุณเป็นธุรกิจที่เป็นสินค้าใช้แล้วหมดไป หรือบริการที่ลูกค้าจำเป็นต้องใช้ซ้ำอยู่บ่อย ๆ การนำ Loyalty Program เข้ามาใช้ในการทำการตลาดก็เป็นเรื่องที่ดี หากธุรกิจคุณต้องการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว และสร้างความแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่ง บทความนี้จะอธิบาย Loyalty Program และยกตัวอย่างทั้งหมด 10 แบบให้เห็นภาพ

Loyalty Program คืออะไร ?

การใช้รางวัลหรือข้อเสนอต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำจากแบรนด์เรา แทนที่จะเลือกซื้อจากคู่แข่ง

ประโยชน์จาก Loyalty Program

  • เสริมสร้างการซื้อซ้ำจากลูกค้า
  • เพิ่ม CLV(Customer lifetime value)
  • สร้างยอดขาย
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
  • แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
  • กระตุ้นการบอกต่อ
  • เพิ่มความพึงพอใจในสินค้าและบริการ

10 ตัวอย่างของแต่ละแบบของ Loyalty Program

ไม่ว่าจะเป็นการให้รางวัลหรือข้อเสนอแบบไหน ส่วนใหญ่แล้วเป้าหมายของการทำ Loyalty Program คือการสร้างรายได้กับลูกค้าเก่าในระยะยาว แต่การทำ Loyalty Program แต่ละแบบทำงานไม่เหมือนกัน

  1. สะสมแต้ม (Points programs)
  2. แบ่งระดับขั้น (Tier-based programs)
  3. ตั้งเป้าหมาย (Mission-driven programs)
  4. ยอดใช้จ่าย (Spend-based programs)
  5. เล่นเกม (Gaming programs)
  6. ใช้จ่ายต่อเนื่อง (Subscription programs)
  7. ตั้งชุมชน (Community programs)
  8. บอกต่อ (Refer a friend programs)
  9. จ่ายค่าสมาชิก (Paid programs)
  10. เงินคืน (Cashback programs)

1. สะสมแต้ม (Points programs)

ยกตัวอย่าง บัตรสะสมแต้มของปั๊มน้ำมันน้ำมันต่าง ๆ ซึ่งเมื่อลูกค้าใช้จ่ายตามยอดที่กำหนดจะได้แต้มมาสะสมอยู่ในบัตรนั้น ๆ เมื่อแต้มครบจำนวนที่กำหนดแล้ว สามารถใช้เป็นส่วนลดในค่าใช้จ่ายจากการเติมน้ำมัน ถ้าให้มองไปที่ตัวสินค้าแล้ว น้ำมันอาจจะไม่สามารถที่จะแตกต่างกันได้มากนัก การนำโปรแกรมนี้มาใช้ก็จะช่วยให้ลูกค้ามองหาแต่แบรนด์เราเท่านั้นเพื่อสะสมแต้มเป็นส่วนลดต่อไป

2. แบ่งระดับขั้น (Tier-based programs)

ยกตัวอย่าง AIS เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ที่แบ่งประเภทลูกค้าจากระยะเวลาการใช้งาน(เป็นลูกค้ามานานแค่ไหน) และยอดการใช้จ่ายแต่ละเดือน ซึ่งลูกค้าที่อยู่มานาน หรือยอดใช้จ่ายสูง ก็จะถูกจัดอยู่ในระดับที่สูงขึ้น ในแต่ละดับนั้นก็จะได้สิทธิพิเศษไม่เหมือนกัน ยิ่งระดับสูงก็จะยิ่งได้สิทธิพิเศษมาก สิ่งนี้ทำให้ลูกค้าเลือกที่จะอยู่กับแบรนด์ เนื่องจากไม่อยากย้ายไปค่ายอื่น ที่ทำให้เสียสิทธิพิเศษต่าง ๆ และต้องไปสะสมระยะเวลาการเป็นลูกค้าเพื่อจะได้รับสิทธิพิเศษ

3. ตั้งเป้าหมาย (Mission-driven programs)

ถ้าธุรกิจคุณมีเป้าหมายทางสังคมที่ชัดเจน ลองดูตัวอย่างจาก Ben & Jerry’s แบรนด์ไอศกรีมซุปเปอร์พรีเมียมและเชอร์เบตที่บริจาคให้กับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับสัตว์โลก สภาพแวดล้อมและสังคม จากส่วนแบ่งของยอดขายที่พวกเขาทำได้ ช่วยให้กลุ่มลูกค้าที่ให้คุณค่ากับโลก สิ่งแวดล้อม และสังคมหันมาช่วยอุดหนุนสินค้าของทางแบรนด์อยู่เรื่อย ๆ

4. ยอดใช้จ่าย (Spend-based programs)

ตัวอย่างสายการบิน Azerbaijan Airlines ที่มอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้กับลูกค้าที่ใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนด ในเวลาอันสั้น เพื่อแลกกับการใช้บริการต่าง ๆ ของสายการบิน

5. เล่นเกม (Gaming programs)

ยกตัวอย่าง starbucks ที่ใช้แอปพลิเคชันของตัวเองในการกระตุ้นให้ลูกค้าทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตัวเองกำหนด เช่น การจ่ายเงินผ่านแอพ การเข้าร้านครบ 4 ครั้ง ซึ่งการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่เขากำหนดนั้น ตัวลูกค้าก็จะได้สิ่งตอบแทนเป็นดาว หรือคล้าย ๆ แต้ม เพื่อนำไปแลกเป็นกาแฟ แซนวิช หรือแก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้ช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับทางแบรนด์มากขึ้น

6. ใช้จ่ายต่อเนื่อง (Subscription programs)

ตัวอย่างแบรนด์ Gift Wellness ที่ให้ลูกค้าสั่งผ้าอนามัยแบบรายเดือนได้ โดยการสั่งเพียงครั้งเดียว แต่ทางแบรนด์จะจัดส่งให้ทุกเดือน พร้อมกับให้ส่วนลดกับลูกค้าที่สั่งรายเดือน 10% เทียบกับลูกค้าที่สั่งเป็นบางครั้งจะไม่ได้รับส่วนลดใด ๆ

7. ตั้งชุมชน (Community programs)

ยกตัวอย่างแบรนด์ Sephora เมื่อลูกค้าซื้อสินค้า ลูกค้าจะมีสิทธิ์เข้าร่วมชุมชน ทางแบรนด์ Sephora นั้นจำหน่ายเครื่องสำอาง ดังนั้นชุมชนก็จะเป็นกลุ่มสาว ๆ ที่คอยแบ่งปันเทคนิคการแต่งหน้าต่าง ๆ เมื่อพวกเขาได้อยู่ในชุมชนที่แบรนด์สร้างขึ้นแล้ว เขาก็จะมีประสบการณ์เชิงบวกกับทางแบรนด์ซึ่งทำให้ครั้งต่อ ๆ ไปนั้นเกิดการซื้อสินค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น

8. บอกต่อ (Refer a friend programs)

ตัวอย่าง Dropbox โปรแกรมเก็บข้อมูลออนไลน์ ถ้าหากคุณมีสมาชิก Dropbox แล้วล่ะก็ คุณสามารถแนะนำเพื่อน ๆ มาใช้งานได้ โดยสิ่งที่คุณจะได้รับเป็นการตอบแทนนั้นก็คือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลที่มากขึ้นกว่าเดิม นั่นทำให้คุณได้ใช้งานได้มากขึ้นและนานขึ้น ทาง Dropbox ก็จะได้ลูกค้าใหม่ ซึ่งลูกค้าและแบรนด์เองก็ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย

9. จ่ายค่าสมาชิก (Paid programs)

ยกตัวอย่าง Amazon โดยปกติแล้วถ้าคุณสั่งของจาก Amazon คุณก็จะต้องเสียค่าส่งแยกตามปกติ แต่ถ้าคุณยอมจ่ายค่าสมาชิก Amazon Prime ประมาณ 400 บาท/เดือน คุณจะได้สิทธิประโยชน์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นส่งฟรี ส่วนลดต่าง ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย

10. เงินคืน (Cashback programs)

ยกตัวอย่างบัตรเครติดแต่ละธนาคาร เวลาคุณใช้จ่ายถึงยอดที่กำหนดแล้ว ธนาคารก็จะให้เงินคืนตามจำนวนที่กำหมด ส่วนนี้ก็จะกระตุ้นให้คนใช้จ่ายมากขึ้น เมื่อใช้จ่ายมากขึ้นธนาคารก็จะมีโอกาสที่จะได้ดอกเบี้ยจากเงินที่คงค้าง

และทั้งหมดนี้ก็คือ 10 ประเภทของ Loyalty Program หากมีคำถามหรือข้อโต้แย้งสามารถคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันได้เลย หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน

แหล่งที่มา : Zendesk

บทความนี้มีประโยชน์
มากน้อยเพียงใด ?
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.
Chanin.N
test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test test
Thank you! Your submission has been received!
Oops! Something went wrong while submitting the form.

บทความแนะนำ

ดูบทความทั้งหมด →

STP คืออะไร วิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำตลาดพร้อมตัวอย่าง

เสื้อไซต์เดียวไม่สามารถทำให้ใส่ได้ทุกคน การเลือกกลุ่มเป้าหมายในตลาดเพื่อขายสินค้าและบริการก็เช่นเดียวกัน STP Marketing จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ความเหมาะสมระหว่างสินค้าและบริการกับกลุ่มเป้าหมาย

อ่านต่อ →

TOWS Matrix คืออะไร ช่วยคุณวางกลยุทธ์ให้ดีขึ้นได้อย่างไร

หากคุณค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้วไม่สามารถนำมาวางกลยุทธ์ได้อย่างมั่นใจว่าครอบคลุมทุกมุมมอง TOWS Matrix จะมาช่วยวางกลยุทธ์ได้อย่างรัดกุมมากยิ่งขึ้น

อ่านต่อ →

Vision, Mission, Value คืออะไร ถ้าไม่มีจะส่งผลกับธุรกิจอย่างไร

ปัญหาหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นกับธุรกิจจากการมีทิศทางขององค์กรไม่ชัดเจน การสร้าง Vision, Mission, Value ขององค์กรของคุณจะช่วยประหยัดทรัพยากรณ์และลดข้อผิดพลาดได้ในระยะยาว

อ่านต่อ →

บริษัทการตลาดออนไลน์ที่ดูแลคุณแบบครบรอบด้าน ช่วยธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วและคุ้มค่ากว่าที่เคย

©Copyright 2023 by The Spidery. All rights reserved  Privacy Policy Cookie Setting